ชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลส่วนใหญ่มักจะต้องมีผิวที่แข็งทนทานต่อการสึกหรอ
และยังต้องมีความทนทานต่อการใช้งานหนักต่างๆ ได้ดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องมีความทนต่อ Dynamic Stresses
เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าว
จึงนำเหล็กกล้าที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการใช้งานหนัก
มาทำให้ผิวของเหล็กมีความแข็งเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า
"ทำการชุบผิวแข็ง" ซึ่งอาจทำได้หลายวิธีต่างๆ กัน คือ
เฉพาะเหล็กที่ผ่านการชุบแข็งผิวแบบ Case Hardening และ Nitriding
เท่านั้นที่ผิวเหล็กจะมีองค์ประกอบทางเคมีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ในการทำ Case Hardening เหล็กกล้าประเภท Low – carbon
จะถูกนำไปอบกับสารที่มีปริมาณคาร์บอนสูง ซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว
หรือ ก๊าซ จนมีอุณหภูมิเหนือจุดวิกฤตบน
ผิวของชิ้นงานดังกล่าวจะมีปริมาณคาร์บอนเพิ่มขึ้นจนถึง 0.85 %
ต่อมาจึงนำไปทำ Heat Treatment
อีกทีหนึ่งก็จะได้ชิ้นงานมีผิวแข็งทนทานต่อการ สึกหรอต่างๆ
การทำให้ผิวชิ้นงานมีปริมาณคาร์บอนเพิ่มขึ้นดังกล่าวอาจเรียกว่า
Carburising ซึ่งแยกออกตามลักษณะของสารที่นำมาอบด้วยเป็น 3 ประเภท คือ
สารที่นำมาอบด้วยจะมีลักษณะเป็นของแข็งเป็นผง
ซึ่งชิ้นงานที่ทำเสร็จแล้วจะนำมาอัดด้วยสารดังกล่าวลงในกล่องเหล็กกล้า
การอัดต้องอัดให้ชิ้นงานสัมผัสกับสารดังกล่าวให้ทั่วถึงทุกซอกทุกมุม
บริเวณผิวชิ้นงานที่ไม่ต้องการให้เกิดการชุบแข็งก็อาจปิดด้วยแผ่นทองแดงหนา
0.075 มม. ตามฝากล่องใช้ดินเหนียวอัดให้แน่นไม่ให้อากาศเข้าได้
ต่อจากนั้นนำไปอบที่อุณหภูมิประมาณ 900 – 950 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3
– 8 ชม. แล้วแต่ความลึกของผิวที่ต้องการชุบแข็ง
หลังจากนั้นจึงปล่อยให้เย็นตัวลงช้าๆ ภายในเตา
สารที่นำมาอบด้วยอาจจะเป็นถ่านไม้ หรือถ่านโค๊กป่นผสมกับตัวก่อให้เกิดปฏิกิริยา
เช่น แบเรียมคาร์บอเนต เมื่อนำไปอบแบเรียมคาร์บอเนตจะสลายตัวในออกซิเจน
ซึ่งจะไปออกซิไดซ์คาร์บอนให้เป็นคาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้เกิดเป็น
Nascent Carbon หรือ คาร์บอนที่เกิดใหม่ๆ ได้ดังสมการ
2CO => CO2 + C
คาร์บอนที่เกิดใหม่นี้จะซึมเข้าไปในผิวเหล็กกล้า อัตราการซึมตัวเข้าไปในผิวเหล็กกล้าจะขึ้นกับอุณหภูมิที่อบ และขึ้นกับองค์ประกอบของเหล็กกล้าและองค์ประกอบของสารที่นำมาอบด้วย โดยทั่วๆ ไป ความลึกของผิวชุบแข็งที่ได้มักอยู่ระหว่าง 0.05 – 1.55 มม. ชิ้นงานที่นำมาอบที่ 900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชม. จะมีความลึกของผิวชุบแข็งประมาณ 0.25 มม. ต่อชั่วโมง
สารที่นำมาอบด้วยจะเป็นของเหลว โดยทั่วๆ
ไปจะประกอบด้วยโซเดียมไซยาไนด์ ประมาณ 20 – 45 % กับโซเดียมคาร์บอเนต
และโซเดียมคลอไรด์
ชิ้นงานที่ต้องการชุบผิวให้แข็งจะถูกนำใส่ตะกร้ามาจุ่มลงในอ่างเกลือหลอมเหลวซึ่งควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ภายในช่วง
870 – 950 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นจึงดึงออกทำให้เย็นตัวโดยเร็ว
วิธีนี้เป็นการให้ความร้อนอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ ชิ้นงานจึงบิดงอน้อย
เป็นวิธีที่ประหยัดและเหมาะสำหรับชิ้นงานขนาดเล็ก
ซึ่งต้องการผิวชุบแข็งเพียงบางๆ
ส่วนใหญ่จะใช้ชุบชิ้นงานที่ทำจาก Mild Steel และใช้รับแรงน้อยๆ
โดยชุบผิวแข็งหนาไม่เกิน 0.25 มม.
การชุบผิวแข็งให้มีความหนาดังกล่าวอาจทำได้โดยแช่ชิ้นงานไว้ในอ่างเกลือหลอมเหลวประมาณ
45 นาที ความหนาสูงสุดที่ทำได้โดยค่าใช้จ่ายไม่เพิ่มขึ้นมาก
จะหนาประมาณ 0.75 มม. ซึ่งทำได้โดยแช่ชิ้นงานไว้เป็นเวลาประมาณ 3
ชั่วโมง
เนื่องจากการชุบผิวแข็งวิธีนี้ต้องใช้ ไซยาไนด์ซึ่งเป็นสารพิษรุนแรง
ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังมาก
เหนืออ่างหลอมเหลวจะต้องมีที่ดูดควันอย่างดี
ต้องระมัดระวังไม่ให้ของเหลวกระเด็นออกนอกอ่าง
และต้องระมัดระวังไม่ให้ไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางบาดแผล
วิธีนี้เป็นวิธีทีทำได้ง่ายๆ โดยอบชิ้นงานให้มีอุณหภูมิประมาณ 900
องศาเซลเซียส ภายในเตาที่มีก๊าซที่เหมาะสม เช่น อีเทน โปรเปน และบูเทน
ความลึกของผิวที่ชุบแข็งจะมีค่าประมาณ 0.25 – 1.0 มม.
โดยใช้เวลาอบไม่เกิน 4 ชั่วโมง
Gas Carburising อีกแบบหนึ่งคือ Carbonitriding plain carbon steels
จะเกิดทั้ง Carburising และ Nitriding หลังจากอบไว้ที่อุณหภูมิประมาณ
650 - 950 องศาเซลเซียส
ภายใต้บรรยากาศที่มีก๊าซแอมโมเนียและไฮโดรคาร์บอน
อุณหภูมิที่เลือกอบจะขึ้นอยู่กับความลึกของผิวที่ต้องการชุบให้แข็ง
โดยทั่วๆ ไปจะใช้ประมาณ 820 – 840 องศาเซลเซียส
หลังจากนั้นจึงนำออกจากเตาทำให้เย็นตัวโดยเร็ว
ชิ้นงานที่ได้จะแตกร้าวและบิดงอน้อย
เนื่องจากอบที่อุณหภูมิต่ำกว่าและไม่ต้องนำไปทำ Heat Treatment อีก
คือ การทำให้ผิวชิ้นงานเกิดเป็นโลหะไนไตรน์ขึ้น
โดยการอบชิ้นงานที่ผ่านการทำ Heat Treatment มาแล้ว
ในภาชนะปิดที่มีก๊าซแอมโมเนียหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา อบจนมีอุณหภูมิ 500
องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 – 4 วัน แอมโมเนียจะสลายตัวให้ก๊าซไฮโดรเจน
และไนโตรเจน ก๊าซไนโตรเจนที่เกิดใหม่ๆ
นี้จะซึมเข้าไปในผิวชิ้นงานเกิดเป็นโลหะไนไตรน์ขึ้น โลหะพวก plain
carbon steels ไม่ควรที่จะนำมาทำ Nitriding เนื่องจากจะเกิดคาร์บอนไนไตรน์ที่ผิวชิ้นงานทำให้ชิ้นงานเปราะเกินไป
โลหะที่สามารถทำ Nitriding ได้ดี ได้แก่โลหะผสมพวก Nitralloy
ซึ่งจะมีคาร์บอน 0.2 – 0.5 % โครเมียม 1.5% อลูมิเนียม 1 % และโมลิบดินัม
0.2% ผิวชิ้นงานจะเกิดเป็นโครเมียม และอลูมิเนียมไนไตรน์ทำให้ผิวแข็งขึ้น
เนื่องจากการเกิดโครเมียมไนไตรน์เกิดเข้าไปในผิวชิ้นงานได้ลึกกว่าอลูมิเนียมไนไตรน์มาก
ดังนั้น ความแข็งภายในผิวชิ้นงานจะค่อยๆ ลดลง เป็นลำดับตามความลึก โมลิบดินัมที่มีอยู่จะช่วยปรับสภาพเกรนบริเวณแกนกลางชิ้นงาน
และช่วยให้แกนกลางทนทานต่องานหนักได้ดี
ตัวอย่างชิ้นงานดังกล่าวได้แก่ Die Block จานเบรก เพลาข้อเหวี่ยง Mould หล่อพวกพลาสติก ตัว Spindles ต่างๆ เป็นต้น
การทำ Nitriding จะเสียค่าใช้จ่ายในขั้นต้น เช่น
ค่าก่อสร้างโรงงานมากกว่าการชุบแข็งแบบอื่นๆ
และยังต้องใช้โลหะผสมชนิดพิเศษอีกด้วย
แต่ถ้าต้องชุบแข็งชิ้นงานจำนวนมากๆ วิธีนี้จะถูกกว่าวิธีอื่นๆ
ใช้เปลว Oxy – Acetylene ก๊าซเผาชิ้นงานจนมิอุณหภูมิเพียงพอดี
เหนือจุดวิกฤติบน แล้วพ่นละอองน้ำลงไปให้ชิ้นงานเย็นตัวทันที
เหล็กกล้าที่จะนำมาทำ Flame Hardening ควรจะมีปริมาณคาร์บอน 0.4 – 0.6
% เพื่อให้ชิ้นงานมีผิวแข็งและมีความทนทานต่อการใช้งานหนัก
เหล็กกล้าที่มีปริมาณคาร์บอน 0.45 % หลังจากทำ Flame Hardening
แล้วจะมีผิวแข็งประมาณ 600 – 650 HV และความลึกของผิวแข็งนี้จะประมาณ
3.0 – 3.8 มม.
ตัวอย่างชิ้นงาน ได้แก่ เกียร์ ลูกเบี้ยว ซี่เฟืองต่างๆ
ก่อนที่จะนำชิ้นงานมาชุบแข็งควรจะลดความเครียดภายในออกเสียก่อน
หลังจากทำการชุบผิวแข็งแล้วจึงทำการ Annealing ที่อุณหภูมิต่ำๆ
เพื่อลดความเครียดอีกทีหนึ่ง
วิธีนี้เป็นการให้ความร้อนผิวชิ้นงานอย่างรวดเร็วโดยใช้กระแสความถี่สูงทำให้ชิ้นงานมีอุณหภูมิเหนือจุดวิกฤติบนภายในเวลา 3 – 5 วินาที แล้วทำให้เย็นตัวทันทีโดยการพ่นละอองน้ำลงไป ความลึกของผิวชุบแข็งที่ได้มีค่าประมาณ 3.2 มม. เหล็กกล้าที่จะนำมาทำ Induction Hardening ควรมีปริมาณคาร์บอน 0.4 – 0.6 % วิธีนี้ถ้าควบคุมเวลาที่ใช้ในการชุบแข็งให้ได้ตามกำหนดแล้ว การที่ผลึกจะขยายขนาดขึ้น หรือเกิดการบิดงอของชิ้นงานหรือเกิด Decarburisation จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น